บริการซ่อมแซมโครงสร้าง สำหรับบ้านและอาคารทุกประเภท
ซ่อมแซมบ้านทรุด ซ่อมแซมโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ
ซ่อมแซมบ้านทรุด ซ่อมพื้นทรุด แก้ไขปัญหาซ่อมคานแตกร้าว ซ่อมผนังร้าว เสาแตกร้าว-เสาระเบิด และ ซ่อมแซมโครงสร้าง โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมวิเคราะห์หน้างานอย่างละเอียด วางแผนซ่อมแซมตรงจุด ปลอดภัย มั่นคง ยืดอายุการใช้งานอาคารทุกประเภท ทั้งบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ และสิ่งปลูกสร้างส่วนต่อเติม
งานบริการซ่อมแซมโครงสร้างของเรา
มั่นใจในความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานอาคารของคุณ ด้วยบริการซ่อมแซมโดยทีมวิศวกรโครงสร้างผู้เชี่ยวชาญ พร้อมวิเคราะห์ปัญหาเชิงลึกและแก้ไขอย่างตรงจุด
1. ซ่อมผนังแตกร้าว (Wall Cracks)
ผนังแตกร้าว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในบ้านและอาคาร ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อความสวยงาม แต่รูปแบบของรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ (รอยร้าวผนังใหญ่กว่า 2 มม. และแตกทะลุผนัง) ของผนังบางประเภทยังอาจบ่งบอกถึง ความเสียหายของโครงสร้างอาคาร เช่น การทรุดตัวของฐานราก การเสียรูปหรือการเคลื่อนตัวของโครงสร้าง ซึ่งอาจลุกลามจนส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร หรือรอยแตกร้าวผนังขนาดเล็ก (รอยร้าวเล็กกว่า 1 มม. และแตกร้าวเฉพาะปูนฉาบ) อาจบ่งบ่อกถึงการก่อสร้างงานผนังที่ไม่ได้มาตรฐาน ดูไม่สวยงาม แม้จะไม่มีความเสียหายด้านโครงสร้าง แต่หากปล่อยไว้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายด้านสถาปัตยกรรม หรือความชื้นสะสมในระยะยาว ส่งผลต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
เราให้บริการ ซ่อมผนังร้าว โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สาเหตุอย่างแม่นยำจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเลือกวิธีการซ่อมแซมให้ตรงกับประเภทของรอยร้าว เช่น
- การอัดฉีดน้ำยาอีพ็อกซี (Epoxy Injection) ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเชื่อมรอยร้าวและเพิ่มความแข็งแรง
- การเย็บแม็กรอยแตกร้าว (Crack Stitching) ผนังก่ออิฐฉาบปูน
- การฉาบซ่อมแซมด้วยโพลีเมอร์ชนิดพิเศษ (Hybrid Polymer Plastering)
- หรือเทคนิคป้องกันการรั่วซึมเพื่อหยุดปัญหาความชื้นในระยะยาว (Waterproofing)
วัสดุทุกชนิดที่เราเลือกใช้ผ่านการรับรองมาตรฐานวิศวกรรม และงานทุกขั้นตอนดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่า ผนังที่แตกร้าวจะกลับมาแข็งแรง สวยงาม และปลอดภัย
2. ซ่อมคานแตกร้าว / พื้นแตกร้าว (Beam & Slab Cracks)
คานแตกร้าว และ พื้นแตกร้าว เป็นสัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจสะท้อนถึงปัญหาโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ เช่น การทรุดตัวของฐานราก, การเคลื่อนตัวของโครงสร้าง, เหล็กเสริมเป็นสนิม หรือการรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลังที่ออกแบบไว้ หากปล่อยไว้อาจลุกลาม ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว
บริการของเราเริ่มจากการตรวจสอบและวิเคราะห์เชิงวิศวกรรม โดยทีมวิศวกรโครงสร้างที่มีใบอนุญาตฯ และประสบการณ์ตรง พร้อมเสนอแนวทางการซ่อมแซมที่เหมาะสมกับระดับและประเภทของความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น
- การอัดฉีดน้ำยาอีพ๊อกซี่ (Epoxy Injection) สำหรับรอยร้าวขนาดเล็ก
- การเข้าแบบเทน้ำปูนชนิดไม่หดตัว (Non-Shrink Grouting) สำหรับรูโพรง หรือรอยร้าวขนาดใหญ่
- การฉาบซ่อมแซมด้วยปูนซ่อมโครงสร้าง (Structural Repair Mortar Patching) สำหรับซ่อมผิวคอนกรีต หรืองาน overhead
- งานป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor) เพื่อป้องกันการเกิดสนิมซ้ำในระยะยาว
- การเสริมกำลังด้วยเหล็กรูปพรรณ (Steel Strengthening) เพื่อเพิ่มกำลังการรับน้ำหนักของโครงสร้างเดิม
- การเสริมกำลังโครงสร้างด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP)
- การทุบรื้อทำใหม่ (Demolish & Reconstruct) กรณีโครงสร้างเดิมเสียหายมาก
เราเลือกใช้วัสดุคุณภาพสูงที่ผ่านการรับรอง มั่นใจได้ว่างานซ่อมของคุณจะได้มาตรฐาน ควบคุมงานโดยวิศวกรโครงสร้างที่เชี่ยวชาญ พร้อมรับประกันความปลอดภัยและความคงทนในระยะยาว
3. เสาแตกร้าว / เสาระเบิด (Column Cracks)
เสาแตกร้าว หรือกรณีที่เกิด การระเบิดของคอนกรีต (Concrete Spalling) มักเป็นสัญญาณของปัญหาภายในโครงสร้าง โดยเฉพาะการเสื่อมสภาพของเหล็กเสริม (Rebar) จากการเกิดสนิม (Rusting) เนื่องจากมีความชื้นสะสมมาเป็นเวลานาน สนิมเหล็กที่เกิดขึ้นมีการขยายปริมาตร ดันคอนกรีตให้แตกออกจากภายใน ทำให้กำลังการรับน้ำหนักของเสาลดลง หรือการรับน้ำหนักของเสาเกินกำลังที่ออกแบบไว้ เนื่องจากการเปลี่ยนเงื่อนไขการใช้อาคาร เช่น จากบ้านพักอาศัย เป็นโกดังเก็บสินค้า เป็นต้น
บริการของเราครอบคลุมทั้งการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพเสา วิเคราะห์สาเหตุ และออกแบบแนวทางการซ่อมแซมให้เหมาะสมกับประเภทและระดับความเสียหาย โดยวิศวกรโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น
- การอัดฉีดน้ำยาอีพ๊อกซี่ (Epoxy Injection) สำหรับรอยร้าวขนาดเล็ก หรือการเข้าแบบเทน้ำปูนชนิดไม่หดตัว (Non-Shrink Grouting) สำหรับรูโพรง หรือรอยร้าวขนาดใหญ่
- การฉาบซ่อมแซมด้วยปูนซ่อมโครงสร้าง (Structural Repair Mortar Patching) สำหรับผิวคอนกรีตที่แตกกะเทาะ
- งานป้องกันการเกิดสนิมในเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor) เพื่อป้องกันการเกิดสนิมซ้ำในระยะยาว
- การค้ำยันชั่วคราว และสกัดรื้อทำใหม่ (Temporary Shoring and Reconstruction)
- การเสริมกำลังเสา (Column Strengthening) ด้วยโครงสร้างเหล็ก (Steel Structure) หรือแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP), หรือเทคอนกรีตเสริมเหล็กหุ้มเสา (Column Jacketing)
ทุกขั้นตอนดำเนินงานภายใต้มาตรฐานวิศวกรรม พร้อมทีมงานที่มีใบอนุญาตฯ และประสบการณ์จริงในภาคสนาม
4. แก้ปัญหาบ้านทรุด / อาคารทรุด / ส่วนต่อเติมทรุด (Settlement)
บ้านทรุด หรือ อาคารทรุดตัว เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากมีลักษณะทางธรณีวิทยาเดิมที่มีชั้นดินอ่อนหนามาก ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- ติดตั้งเสาเข็มไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ตอนที่ก่อสร้าง เช่น เสาเข็มหัก หรือไม่ได้ตรวจสอบ blow count เป็นต้น
- อาคารเดิมใช้เสาเข็มยาว (end-bearing pile) แต่ต่อเติมอาคารแล้วใช้เสาเข็มสั้น (friction pile)
- ต่อเติมอาคารโดยไม่ตัดแยกรอยต่อ (joint separation) หรือเชื่อมยึดโครงสร้างส่วนต่อเติมเข้ากับอาคารเดิม
- เปลี่ยนเงื่อนไขการใช้งานอาคาร เช่น เดิมออกแบบเป็นบ้านพักอาศัย แต่ใช้งานเป็นที่เก็บเอกสารและพัสดุ (น้ำหนักบรรทุกจรมากขึ้น) เป็นต้น
การตรวจวิเคราะห์สาเหตุโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ เพื่อวางแผนการซ่อมแซมอย่างตรงจุดและปลอดภัย โดยเราให้บริการแก้ไขด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เช่น
- การเสริมเสาเข็มไมโครไพล์ เพื่อหยุดการทรุดตัวของโครงสร้าง
- การดีดปรับระดับอาคาร ให้กลับมาอยู่ในแนวระดับ-แนวดิ่ง
- การตัดแยกรอยต่ออาคารส่วนต่อเติมและอาคารเดิม
- การรื้อส่วนต่อเติมเดิมที่เสียหายออก และออกแบบก่อสร้างใหม่ให้ถูกหลักวิศวกรรมโครงสร้าง
ทุกวิธีผ่านการคำนวณและควบคุมโดยทีมวิศวกรโครงสร้าง มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และมีมาตรการลดผลกระทบต่อเพื่อนบ้านที่อยู่อาศัยใกล้เคียง
5. เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile)
เสาเข็มไมโครไพล์ คือ ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถตอกเสาเข็มขนาดใหญ่ได้ เช่น พื้นที่แคบ พื้นที่ใกล้บ้านเพื่อนบ้าน หรืออาคารที่มีการใช้งานอยู่แล้ว เสาเข็มประเภทนี้มีขนาดเล็ก ติดตั้งง่าย ทรุดตัวน้อย และสามารถรับน้ำหนักได้เทียบเท่ากับเสาเข็มทั่วไป
เราให้บริการติดตั้ง เสาเข็มไมโครไพล์ โดยเน้นความปลอดภัยและแม่นยำในทุกขั้นตอน เหมาะสำหรับ
- เสริมความแข็งแรงฐานรากอาคารเดิม
- แก้ไขปัญหาบ้านทรุดหรือส่วนต่อเติมทรุด
- การต่อเติมอาคารใหม่
การติดตั้งเสาเข็มไมโครไพล์ไม่จำเป็นต้องรื้อถอนโครงสร้างเดิม ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเสียงรบกวน ทำให้โครงสร้างมั่นคงแข็งแรงในระยะยาว โดยควบคุมงานโดยทีมช่างและวิศวกรที่มีใบอนุญาตฯ และมากด้วยประสบการณ์
6. วิเคราะห์และเสริมกำลังโครงสร้าง (Structural Analysis & Strengthening)
การเสริมกำลังโครงสร้าง เป็นขั้นตอนสำคัญเมื่ออาคารมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน เช่น การเพิ่มชั้น การเปลี่ยนภาระน้ำหนัก หรือเมื่ออาคารมีอายุการใช้งานนานจนโครงสร้างเริ่มเสื่อมสภาพ หากไม่ได้รับการวิเคราะห์ออกแบบเสริมกำลังอย่างถูกต้อง อาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงและเสี่ยงต่อความปลอดภัย
ทีมวิศวกรโครงสร้างของเรามีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์กำลังรับแรงของอาคาร โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบและซอฟต์แวร์ที่ทันสมัย พร้อมออกแบบวิธีการเสริมกำลังที่เหมาะสมกับลักษณะของอาคารและวัสดุเดิม เช่น
- การพอกหน้าตัดคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC jacketing)
- การเสริมเหล็กรูปพรรณ (Steel Jacketing)
- การเสริมด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP)
- เสริมความแข็งแรงฐานรากอาคารเดิม (Underpin Strengthening)
กระบวนการทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของวิศวกรที่มีใบอนุญาต พร้อมรายงานวิเคราะห์และเอกสารรับรองความมั่นคงของโครงสร้าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาคารของคุณจะสามารถรองรับการใช้งานได้อย่างปลอดภัยในระยะยาว
บ้านร้าว? พื้นทรุด? โครงสร้างเสื่อมสภาพ? อย่ารอจนสายเกินไป
เราคือผู้เชี่ยวชาญด้าน ซ่อมคานแตกร้าว ซ่อมผนังร้าว ซ่อมแซมบ้านทรุด และเสริมกำลังโครงสร้างทุกประเภท ตรวจสอบ ปรึกษาฟรี! แก้ปัญหาตรงจุด โดยวิศวกรมืออาชีพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่
เบอร์โทร : 096-914-0497
Line : https://line.me/ti/p/PPiafMOPIa
Facebook : https://www.facebook.com/totalhomesolution2016