ReadyPlanet.com


ราคางานต่อเติม


ต้องการรื้อครัวเดิมที่ต่อเติม และทำใหม่ คิดตารางเมตรละเท่าไรครับ

มีส่วนต่อเติมเดิมเป็นรูปตัวแอล ทรุดเนื่องจากคานส่วนต่อเติม ส่วนที่ชิดกับตัวบ้านนั่งบนฐานรากบ้านเดิม (เข็มยาว 20 เมตร) ทำให้เกิดการทรุดเอียงครับ แต่อัตราการทรุดลดลง ในปีนี้เหลือการทรุดเอียงเพิ่มประมาณ 1-2มม (ต่อเติมมาประมาณ 12 ปี อยู่รามอินทรา วัชรพล) ถ้าแบบนี้ทำการซ่อมรอยร้าว เปลี่ยนผนังอิฐรอบนอกเป็นผนังเบา หรือ อลูมิเนียม ปรับพื้นให้ได้ระนาบโดยไม่ต้องแก้โครงสร้าง จะได้หรือไม่ครับ ค่าใช้จ่ายประมาณตรม.ละเท่าไรครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนเดช :: วันที่ลงประกาศ 2015-01-06 20:49:56


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3399255)

 ส่วนต่อเติมใหม่เป็นเข็มเจาะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนเดช วันที่ตอบ 2015-01-06 20:51:26


ความคิดเห็นที่ 2 (3399320)

เรียน คุณธนเดช

เข้าใจว่ามีการต่อเติมไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานฐานราก ซึ่งทางผู้ก่อสร้างส่วนต่อเติมเดิมน่าจะเลือกใช้ฐานรากเสาเข็มสั้นยาวไม่เกิน 6 เมตร (ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้น soft clay) ในขณะที่ตัวบ้านหลักมีการใช้เสาเข็มยาว 18-21 ม. (ปลายเสาเข็มอยู่ใน sand หรือ stiff clay) และอาจมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนต่อเติมเข้ากับบ้านเดิม ไม่ได้ตัดแยกรอยต่ออาคาร ทำให้พฤติกรรมของโครงสร้างเกิดการทรุดร้าว หรือทรุดตัวไม่เท่ากันสำหรับฐานราก 2 ระบบที่แตกต่างกันดังกล่าวครับ

วิธีการแก้ไขโดยทั่วไปมี 3 วิธี

1. การซ่อมรอยต่อระหว่างอาคารส่วนต่อเติมและบ้านเดิม (joint repairing or joint seperation) ที่มีการแตกร้าว เช่น ใช้ไม้บัวปิดยึดสกรูด้านเดียว หรือใช้ elastic sealant หรือกรณีหลังคาก็อาจทำปีกนกหรือ flashing เป็นต้น ข้อดีคือ ง่ายและประหยัด แต่เป็นการซ่อมแซมที่ปลายเหตุ เพราะปัญหาทางวิศวกรรมฐานรากยังไม่ได้ถูกแก้ไข และอาคารยังคงเคลื่อนตัวออกจากกันอยู่ตลอดเวลา เมื่อการเคลื่อนตัวมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง ก็ต้องซ่อมแซมรอยต่อเหล่านี้ใหม่ไปเรื่อยๆ ระยะเวลาการซ่อมแซมแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าอัตราการทรุดตัวของโครงสร้างเร็วแค่ไหน และเราเลือกออกแบบ joint ให้รองรับการเคลื่อนตัวได้มากแค่ไหนครับ ค่าใช้จ่ายประเมินเบื้องต้นน่าจะเป็นหลักหมื่นบาทเท่านั้น

2. การปรับปรุงฐานรากโดยการเสริมเสาเข็ม (underpinning) หลักการคือ เสริมเสาเข็มยาวโดยออกแบบเสาเข็มให้ปลายเสาเข็มหยั่งถึงชั้นทราย เพื่อควบคุมการทรุดตัวของอาคารให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอาคารหลักหรือตัวบ้านเดิม เป็นการแก้ไขทางวิศวกรรมฐานราก ทั้งนี้อาจรวมไปถึงการดีดอาคารปรับระดับในกรณีที่อาคารมีการทรุดเอียงเสียระดับไปด้วย ข้อดีคือ เป็นวิธีที่ถูกหลักวิศวกรรม หรือแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เมื่อแก้ไขแล้วจะไม่เกิดปัญหาอีก แต่ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ประมาณ 0.40-0.50MB เมื่อคำนึงถึงหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว มักไม่ค่อยมีคนเลือกทำวิธีนี้ครับ

3. การรื้อสร้างใหม่ (rebuild) โดยออกแบบให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับวิศวกรรมฐานรากและโครงสร้างครับ ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับรูปร่างและขนาดอาคารส่วนต่อเติม เริ่มต้นที่ 0.40MB ขึ้นไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin (info-at-saangbaan-dot-com)ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2015-01-08 12:51:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล