ReadyPlanet.com


สอบถามโครงสร้างใต้พื้นห้องน้ำปูนเสื่อมระเบิดเห็นเหล็กเส้นตรงพื้นห้องน้ำ


สวัสดีค่ะ
อาคารพาณิชย์ 4 ชั้น มีปัญหา
1 โครงสร้างใต้พื้นห้องน้ำชั้น 4 -3 ปูนเสื่อมระเบิดออกเป็นก้อนๆ หลุดล่วงลงมาบนฝ้า เห็นเหล็กเส้น แก้ไขได้ไหมอย่างไร  ต้อง  ทุบพื้นห้องน้ำทำพื้นใหม่หรือไม่
2 กำแพงด้านหลังอาคารในส่วนที่เป็นห้องน้ำ ปูนน่าจะเสื่อมทำให้เวลาฝนตกอาจมีน้ำซึมเข้าในกำแพงด้านในด้วย
3 กำแพงด้านร่วมกับเพื่อนบ้าน เคยเกิดน้ำประปารั่วทำให้ซึมเข้ามาในบ้านเรา และ ระยะหลังห้องน้ำของเพื่อนบ้านมีปัญหาน้ำทิ้งซึมออกนอกกำแพงบ้าน เมื่อเขาซ่อมห้องน้ำแล้วกลับเกิดปัญหาขึ้้นกับบ้านเราคือกำแพงและฝ้าบ้านเราเกิดสีบวมขั้น
 สาเหตุทั้งสามข้อมีทางแก้ไขหรือไม่อย่างไร  ต้องมีงบในการนี้เท่าไรค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 


 



ผู้ตั้งกระทู้ รัตตินันท์ ลิ่มวิบูยล์ :: วันที่ลงประกาศ 2020-11-04 13:15:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4208819)

เรียน คุณรัตตินันท์ ลิ่มวิบูลย์

ขออนุญาตตอบคำถามดังนี้ครับ

1.ปัญหาคานหรือพื้นแตกร้าวลักษณะนี้ เกิดจากอิทธิพลความชื้น (H2O) ที่ส่งผ่านจากดาดฟ้าหรือด้านความชื้นจากด้านข้างอาคาร (ดาดฟ้าเป็นหลัก) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับออกซิเจน (O2) ในอากาศ และเหล็กเสริม (Fe2O3) ในคอนกรีต ก็จะทำให้เหล็กเสริมเดิมแปรสภาพกลายเป็นสนิมเหล็กก็จะขยายปริมาตร ทำให้เกิดการดันคอนกรีตให้แตกออกจากภายในครับ ซึ่งเป็นปัญหาทางวิศวกรรม ซึ่งทีมงาน Total Home Solution (THS) ขออนุญาติเสนอวิธีการซ่อมแซมและป้องกันปัญหา steel corrorion ดังนี้

การแก้ไขสามารถทำได้โดย

1.1. กรณีที่มีแอ่งน้ำขัง ให้เทปรับระดับพื้นให้มีความลาดชันไปที่ drain หรือพื้นปูนทรายปรับระดับเดิมหลุดร่อน ให้สกัดรื้อออกและเทปรับพื้นใหม่เช่นกัน

1.2. ทำระบบกันซึมในด้านที่ส่งผ่านอิทธิพลของความชื้นเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น ดาดฟ้า ห้องน้ำ หรือการรั่วซึมผ่านผนังเข้ามาสู่โครงสร้าง 

1.3. ทำค้ำยันชั่วคราว เพื่อถ่ายแรงออกจากโครงสร้างบางส่วน และเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย

1.4. สกัดรื้อคอนกรีตออก จนถึงเหล็กเสริมที่เป็นสนิม และทำความสะอาดเหล็กเสริมจนเหลือเพียงเหล็กคุณภาพดีที่ไม่มีสนิม

1.5. เสริมเหล็กเพิ่มเติมเพื่อทดแทนเหล็กที่หายไป พร้อมทาน้ำยาหยุดสนิม (corrosion inhibitor) ที่เหล็กเสริมเดิม เพื่อป้องกันการเกิดสนิมใหม่

1.6. cement grouting หรือ structural repair mortar patching.

1.7. ฉาบตบแต่งผิวด้วยปูนฉาบทั่วไป

หมายเหตุ 

หากความเสียหายตำแหน่งใดมีความรุนแรง การทุบรื้อและทำใหม่อาจเป็นทางเลือกที่ประหยัดกว่าการซ่อมแซม เนื่องจากวัสดุซ่อมแซมมีราคาแพงกว่าวัสดุพื้นฐานมาก ยกเว้นว่าเราไม่สามารถทุบรื้อได้จริงๆ เนื่องจากเหตุผลด้านการใช้งานอาคารครับ

2. ปัญหา crack ของงานผนังภายนอกอาคาร ทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าภายในด้านในอาคาร ซึ่งทีมงาน Total Home Solution (THS) ขออนุญาติสรุปสาเหตุและวิธีการแก้ไขเบื้องต้นดังนี้ครับ

2.1. shrinkage crack คือรอยแตกร้าวลายงาของนผนังปูนฉาบ เกิดจากการที่ปูนฉาบแห้งตัวเร็วเกินไป เช่น ฉาบปูนในขณะที่แดดจัด,ไม่รดน้ำอิฐให้ชุ่มก่อนฉาบ เป็นต้น ซึ่งต้องสำรวจว่า ปูนฉาบมีปัญหาหลุดร่อนหรือไม่ ถ้าปูนฉาบหลุดร่อน ต้องทำการสกัดฉาบใหม่ แต่ถ้าปูนฉาบไม่หลุดร่อน สามารถซ่อมแซม hair crack โดยใช้ Acrylic Filler คุณภาพสูง แล้วจึง primer ด้วยรองพื้นปูนเก่า และ Top Coat ด้วยสี Elastomer หรือสี cover crack ที่สามารถปกปิดรอยแตกลายงาขนาด 1-2 มม. ได้ ในกรณีที่ผนังมี shrinkage crack เพิ่มขึ้นในอนาคต

2.2. รอยต่อผนังก่ออิฐชนข้างเสา, ผนังก่ออิฐชนท้องคาน เกิดจากไม่มีเหล็ก shear key (หนวดกุ้ง) ที่ติดตั้งบริเวณรอยต่อผนังชนเสา ผนังชนท้องคาน (หรือติดตั้งน้อยเกินไป) ทำให้ผนังก่ออิฐไม่สามารถถ่ายแรงเข้าสู่โครงสร้างได้ เมื่อรับแรงสั่นสะเทือน (vibration) จึงเกิดรอยร้าวตามรอยต่อดังกล่าว วิธีการมี 2 วิธีแก้ไขคือ 

2.2.1 กรณีปูนฉาบเดิมไม่หลุดร่อน ให้เปิดร่องขนาดกว้างประมาณ 5-10 มม. และติดตั้ง backing rod จนร่องมีความลึกประมาณ 5 มม. แล้วใช้ PU Sealant ทำการยาแนวรอยต่อ และทาทับด้วย Acrylic+Fibermesh แล้วจึงดำเนินการทาสีด้วยระบบ Elastomer ทับหน้า (ขั้นตอนในข้อ 1) ครับ

2.2.2 กรณีปูนฉาบเดิมหลุดร่อน อาจจำเป็นต้องสกัดฉาบใหม่ และใช้ steel mesh ติดตั้งคร่อมรอยต่อผนังชนเสา หรือผนังชนคาน ทา bonding agent และฉาบปูน แล้วจึงดำเนินการทาสีด้วยระบบ Elastomer ทับหน้า (ขั้นตอนในข้อ 1) ครับ

2.3. รอยแตกทแยงบริเวณมุมวงกบประตูหน้าต่าง โดยมากเกิดจากการก่อสร้างอาจไม่ได้ติดตั้งเสาเอ็นทับหลังตามข้อกำหนด เมื่อผนังรับแรงด้านข้างหรือ vibration ก็จะเกิด crack ขึ้น เนื่องจากบริเวณมุมช่องเปิดมี stress concentration จึงเริ่ม crack จากจุดเหล่านี้ การแก้ไขหรือซ่อมแซมโดยทั่วไปใช้วิธีในข้อ 2

2.4. ปัญหารั่วซึมผ่านรอยต่อระหว่างอลูมิเนียมกับขอบปูน แก้ไขโดยการขูดวัสดุยาแนวเดิมออก ทำความสะอาดรอยต่อ และใช้ PU Sealant ทำการยาแนวใหม่

3. กรณีนี้มีความเป็นไปได้ว่า ห้องน้ำของเพื่อนบ้านรั่วซึมเข้ามาหาเรา ดังนั้นแนะนำให้ทำการเจรจากับเพื่อนบ้าน เพื่อขอเข้าไปดำเนินการแก้ไขในฝั่งของเขาครับ ซึ่งทีมงาน Total Home Solution (THS) ขออนุญาติเสนอวิธีการการแก้ไขคือ ต้องทำระบบกันซึมห้องน้ำและระเบียงดังกล่าว เพื่อป้องกันการรั่วซึมมาจากด้านที่รับน้ำ (positive side) คือด้านบนพื้น โดยมีวิธีการโดยสรุปดังนี้

3.1. รื้อสุขภัณฑ์ตั้งพื้นเดิมออก พร้อมรื้อกระเบื้องพื้นทั้งหมด และกระเบื้องผนังล่างออก 1 แผ่น

3.2. ถ้าพบช่องว่างบริเวณรอบรูท่อต่างๆ ต้องดำเนินการ grouting ปิดช่องว่างนั้นๆ

3.3. เทปูนทรายปรับระดับ และฉาบปรับระดับผนังที่รื้อกระเบื้องออก 1 แผ่นดังกล่าว

3.4. ทำ waterproof coating system (cement base)

3.5. ทำการขังน้ำทดสอบ (ponding test)

3.6. ปูกระเบื้องพื้นและผนังด้วย adhesives

3.7. ติดตั้งสุขภัณฑ์เดิมกลับเข้าตำแหน่งเดิม

 

หรืออาจส่งข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ ส่งมาทางไลน์ของ THS (LINE ID : ths2016) ดังนี้ครับ

1. หน้างานอยู่เขตไหนครับ

2. รบกวนขอแบบ layout plan อาคารเดิม พร้อม hilight บริเวณที่ต้องการต่อเติมหรือรีโนเวท และให้ขนาดคร่าวๆครับ

3. รบกวนแนบรูปถ่ายหน้างาน ณ ปัจจุบันเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin (info-at-saangbaan-dot-com)ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2020-11-04 18:38:51



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล